สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
ส่วนที่ ๑
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
ข้อ ๑๐ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องมีแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ
และแบบก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
(๑) แผนผังโดยสังเขป ต้องแสดงตำ แหน่งที่ตั้งของสถานีบริการน้ำ มันเชื้อเพลิง
พร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายในระยะไม่น้อยกว่า
๕๐.๐๐ เมตร
ในกรณีที่แผนผังตามวรรคหนึ่งไม่สามารถแสดงถึงที่ตั้งของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงได้
ให้จัดทำแผนผังในระยะที่ทำให้สามารถบ่งชี้ถึงที่ตั้งของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงได้
(๒) แผนผังบริเวณ ต้องแสดงเขตที่ดิน เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อาคารบริการ
กำแพงกันไฟ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน แนวท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมัน
เชื้อเพลิง ท่อหรือรางระบายน้ำ บ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากเฉพาะ
ร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะ
แผนผังตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๒๕๐
(๓) แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(ก) แปลนส่วนบน รูปด้าน รูปตัด และแปลนฐานราก
(ข) รายละเอียดการก่อสร้างและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ระบบ
ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตู้จ่ายนํ้ามันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ต่าง ๆ
แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๕๐
(๔) แบบก่อสร้างอาคารบริการ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) แปลนพื้น แปลนฐานราก แปลนโครงสร้าง และแปลนหลังคา
(ข) รูปด้านอย่างน้อยสองด้าน รูปตัดตามขวาง และรูปตัดตามยาว
(ค) รายละเอียดของโครงสร้างแสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารบริการ
แบบก่อสร้างตาม (ก) และ (ข) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๑๐๐
(๕) แบบก่อสร้างท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมันหรือระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องแสดง
รายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) แปลนส่วนล่าง รูปตัดตามขวาง และรูปตัดตามยาว
(ข) ฝาตะแกรงปิดรางระบายน้ำ บ่อพัก และบ่อกักไขมัน
(ค) รายละเอียดแสดงส่วนต่าง ๆ ของท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมัน
หรือระบบบำบัดน้ำเสีย
แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๕๐
(๖) แบบก่อสร้างกำแพงกันไฟ ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) แปลนพื้น แปลนฐานราก รูปด้าน และรูปตัด
(ข) รายละเอียดแสดงส่วนต่าง ๆ ของกำแพงกันไฟ
แบบก่อสร้างตาม (ก) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๒๐
(๗) ในกรณีที่มีสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๑๓ (๒) ต้องแสดงแบบก่อสร้างของสิ่งก่อสร้างนั้นด้วย
ข้อ ๑๑ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องแสดงรายการคำนวณความมั่นคง
แข็งแรงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง อาคารบริการ บ่อกักไขมันหรือระบบ
บำบัดน้ำเสีย กำแพงกันไฟ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แล้วแต่กรณี

ส่วนที่ 2

ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ข้อ ๑๒ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ภายนอก ดังต่อไปนี้
(๑) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ต้องติดทางหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร หรือติดถนน
ส่วนบุคคลที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร
(๒) มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะเชื่อมต่อกับทางสัญจรและต้องได้รับอนุญาต
หรือได้รับความยินยอมให้ทำเป็นทางเชื่อมเพื่อใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
จากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตหรือเจ้าของทางสัญจรดังกล่าว โดยมีรูปแบบของทางเข้าและทางออก
สำหรับยานพาหนะได้สามรูปแบบ ดังต่อไปนี้
(ก) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๒๔.๐๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะแยกต่างหาก
จากกัน ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร และห่างกัน
ไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร ขอบทางเลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า
๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้

(ข) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๑๙.๐๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะแยกต่างหาก
จากกัน ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร และห่างกัน
ตั้งแต่ ๕.๐๐ เมตร แต่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร ขอบทางเลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้ง
ไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(ค) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๑๖.๐๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะทางเดียวกัน
ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗.๐๐ เมตร ขอบทางเลี้ยว
เข้าและออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๓
ท้ายกฎกระทรวงนี้
การวัดระยะห่างของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะตาม (ก) และ (ข)
ให้วัดจากด้านในของขอบทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
(๓) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่อกับทางสัญจรที่เป็น
ทางคู่ต้องห่างจากจุดเริ่มต้นของช่องเปิดของเกาะกลาง ทางระบายน้ำ หรือกำแพงของทางสัญจรดังกล่าว
ไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ที่ตั้งอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล และเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะ
จัดตั้งขึ้น
(๔) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งของทางสัญจร
ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล และเขตราชการส่วนท้องถิ่น
อื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น ต้องไม่อยู่ตรงโค้งของทางหลวงซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแล
และรับผิดชอบของกรมทางหลวงที่มีรัศมีความโค้งน้อยกว่า ๕๐๐.๐๐ เมตร
(ข) นอกเขตพื้นที่ตาม (ก) ต้องไม่อยู่ตรงโค้งของทางสัญจรที่มีรัศมีความโค้งน้อยกว่า
๑,๐๐๐.๐๐ เมตร

(๕) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งของทาง
สัญจรตามที่กำหนดไว้ใน (๔) ไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๕
ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๖) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องห่างจากทางแยกตาม
หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล และเขตราชการส่วนท้องถิ่น
อื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่เชื่อมต่อ
กับทางหลวงซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของกรมทางหลวงต้องห่างจากจุดเริ่มโค้ง
ของทางแยกซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันไม่น้อยกว่า ๓๐.๐๐ เมตร
(ข) นอกเขตพื้นที่ตาม (ก) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งของทางแยกซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เมตร
ลักษณะตาม (ก) และ (ข) เป็นดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๗) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งตั้งของทาง
สัญจรที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน ๑ ต่อ ๒๕ และต้องไม่อยู่ตรงทางสัญจรที่มีความลาดชัน
เกิน ๑ ต่อ ๒๕
ในกรณีที่ทางสัญจรมีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งตั้งแต่ ๑ ต่อ ๕๐ ถึง ๑ ต่อ ๒๕
จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องไม่อยู่ตรงโค้งตั้งของทางสัญจร และต้องห่างจาก
จุดเริ่มโค้งตั้งของทางสัญจรตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล และเขตราชการส่วนท้องถิ่น
อื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งตั้งของทางสัญจรไม่น้อยกว่า ๘๐.๐๐ เมตร
(ข) นอกเขตพื้นที่ตาม (ก) ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งตั้งของทางสัญจรไม่น้อยกว่า
๑๕๐.๐๐ เมตร
(๘) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำ หรับยานพาหนะต้องห่างจากจุดเริ่มต้น
หรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน ๑ ต่อ ๕๐ ที่อยู่ในเส้นทาง
เดียวกันไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เมตร
(๙) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่ตั้งอยู่ติดทางสัญจรที่ตัดกับ
ทางรถไฟ ต้องห่างจากรางรถไฟที่ใกล้ที่สุดไม่น้อยกว่า ๓๐.๐๐ เมตร

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่ผ่านการพิจารณา
ด้านความปลอดภัยและได้รับอนุญาตให้เชื่อมทางตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงแล้ว ให้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙)
ข้อ ๑๓ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัยภายใน
ดังต่อไปนี้
(๑) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องติดตั้งตามระยะห่าง ดังต่อไปนี้
(ก) ห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๑) ไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๑๒ (๒) (ก)
๒) ไม่น้อยกว่า ๗.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๑๒ (๒) (ข)
๓) ไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๑๒ (๒) (ค)
(ข) ห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร
(ค) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ต้องห่างจาก
เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ไม่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า
๕.๐๐ เมตร เว้นแต่สถานีบริการนํ้ามันเชื้อเพลิงที่มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ทางเดียวกัน ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านหลังไม่น้อยกว่า
๑๒.๐๐ เมตร
(ง) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ต้องห่างจากเขตสถานีบริการนํ้ามันเชื้อเพลิง
ด้านที่ไม่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร หากมีระยะน้อยกว่า
๒๐.๐๐ เมตร ต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร ที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ด้านนั้น และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องห่างจากกำแพงกันไฟไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร เว้นแต่สถานี
บริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะทางเดียวกัน ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านหลังไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร

ในกรณีที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ติดกับที่ดินข้างเคียงที่ผู้ประกอบกิจการควบคุม
มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอยู่ หรือได้รับความยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ
ครอบครองที่ดินข้างเคียงนั้น ระยะห่างระหว่างตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร ตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเป็น ไม่น้อยกว่า ๑๕.๐๐ เมตร ได้ ทั้งนี้ ระยะห่าง
ระหว่างตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงถึงแนวเขตที่ดินข้างเคียงจะต้องไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร
(๒) ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการ
และสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก โดยสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากต้องมีพื้นที่ของหลังคาทั้งหมดรวมกัน
ไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และให้มีสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่จำเป็น
สำหรับการให้บริการได้ ดังต่อไปนี้
(ก) หอถังน้ำ
(ข) ที่ล้างรถยนต์
(ค) ที่ยกรถยนต์
(ง) เสาป้ายเครื่องหมายการค้า
(๓) อาคารบริการต้องอยู่ห่างจากเขตทางสัญจรด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านอื่นไม่น้อยกว่า
๒๐.๐๐ เมตร หากมีระยะห่างน้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร ต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร
ที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านนั้น โดยอาคารบริการด้านใดด้านหนึ่งต้องห่างจากกำแพงกันไฟ
ไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และด้านอื่นต้องห่างจากกำแพงกันไฟไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร ทั้งนี้ ยกเว้น
อาคารบริการที่ใช้เป็นห้องน้ำห้องส้วมโดยเฉพาะ หรือที่ใช้เป็นหลังคาคลุมตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า
๕.๐๐ เมตร และต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านอื่นไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร
ในกรณีที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ติดกับที่ดินข้างเคียงที่ผู้ประกอบกิจการควบคุม
มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอยู่ หรือได้รับความยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง
ที่ดินข้างเคียงนั้น ระยะห่างระหว่างอาคารบริการกับเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า
๒๐.๐๐ เมตร ตามวรรคหนึ่ง ให้ลดเป็นไม่น้อยกว่า ๑๕.๐๐ เมตร ได้ ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างอาคาร
บริการถึงแนวเขตที่ดินข้างเคียงจะต้องไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร
อาคารบริการแต่ละอาคารต้องมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร

(๔) ในกรณีที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ติดกับด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออก
สำหรับยานพาหนะอยู่ตรงมุมทางหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างของถนนตั้งแต่ ๓.๐๐ เมตร
ขึ้นไป ให้ได้รับยกเว้นการสร้างกำแพงกันไฟตาม (๑) (ง) หรือ (๓) ในระยะ ๔.๐๐ เมตร จากมุม
ทางหลวงหรือถนนสาธารณะนั้น
(๕) ที่ล้างรถยนต์หรือที่ยกรถยนต์ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกอาคารบริการ ขอบที่ล้างรถยนต์
หรือที่ยกรถยนต์ด้านหนึ่งต้องห่างจากเขตทางสัญจรด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และต้องห่างจากกำแพงกันไฟหรือเขตสถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงด้านใดด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และด้านที่เหลือต้องห่างจากกำแพงกันไฟหรือเขต
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร แต่ถ้าระยะห่างระหว่างขอบที่ล้างรถยนต์
หรือที่ยกรถยนต์กับเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ไม่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะน้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร โดยวัดจากศูนย์กลางของที่ล้างรถยนต์หรือที่ยกรถยนต์ ต้องสร้าง
กำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร และยาวออกไปข้างละไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร
ที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านนั้น
ในกรณีที่ที่ล้างรถยนต์หรือที่ยกรถยนต์อยู่ในอาคารหรือมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันละอองน้ำ
อย่างถาวรและอาคารหรืออุปกรณ์สำหรับป้องกันละอองน้ำดังกล่าวอยู่ติดกับเขตสถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงด้านใด ให้ด้านนั้นได้รับยกเว้นการสร้างกำแพงกันไฟตามวรรคหนึ่ง
(๖) การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นต้องมีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินที่มีความจุไม่น้อยกว่า
๔,๐๐๐ ลิตร สำหรับเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว
(๗) หอถังนํ้าและเสาป้ายเครื่องหมายการค้าต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร
(๘) สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร และต้อง
ห่างจากถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง และท่อระบาย
ไอน้ำมันเชื้อเพลิงของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร
(๙) กำแพงกันไฟด้านที่อยู่ติดกับที่ดินของเจ้าของเดียวกันจะทำเป็นประตูโลหะทึบชนิดบานเลื่อน
เพื่อเป็นทางเข้าออกก็ได้ แต่ประตูดังกล่าวต้องกว้างไม่เกิน ๕.๐๐ เมตร และมีได้หนึ่งประตู และต้อง
ปิดประตูตลอดเวลา เว้นแต่กรณีที่มีการเข้าออก
(๑๐) ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องจัดให้มีท่อหรือรางระบายน้ำโดยรอบ
ในกรณีที่เป็นท่อระบายน้ำต้องมีบ่อพักน้ำทุกระยะห่างกันไม่เกิน ๑๒.๐๐ เมตร และทุกมุมเลี้ยว
และต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดก่อนที่จะปล่อยลงสู่ท่อหรือรางระบายน้ำสาธารณะ โดยต้องแสดง
รายละเอียดและคุณสมบัติเฉพาะของระบบบำบัดน้ำเสียด้วย ในกรณีที่ไม่มีท่อหรือรางระบายน้ำ
สาธารณะต้องสร้างบ่อซึมเพื่อรองรับน้ำทิ้งภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอ และต้อง
ขจัดไขมันและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งต้องทำความสะอาด
ห้องน้ำห้องส้วมอยู่เสมอ
(๑๑) อาคารบริการต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคาร โดยจะระบายน้ำฝนลงสู่ท่อ
หรือรางระบายน้ำสาธารณะโดยตรงก็ได้
(๑๒) พื้นลานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่ให้บริการล้างรถยนต์หรือเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันหล่อลื่นต้องทำด้วยคอนกรีต
การวัดระยะห่างของอาคารบริการตาม (๑) (ข) (๓) (๗) และ (๘) ให้วัดจากริมผนัง
หรือริมเสาของอาคารบริการ
ส่วนที่ ๓
การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๑๔ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่
น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดได้ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้
(๑) ในบริเวณที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น
ปานกลางตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ให้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน ๙๐,๐๐๐ ลิตร
ทั้งนี้ ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้ว
ต้องไม่เกิน ๑๘๐,๐๐๐ ลิตร
(๒) ในบริเวณอื่นนอกจาก (๑) ให้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน ๑๘๐,๐๐๐ ลิตร
ทั้งนี้ ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้ว
ต้องไม่เกิน ๓๖๐,๐๐๐ ลิตร

ข้อ ๑๕ การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๔ ต้องเก็บไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
ข้อ ๑๖ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าด
ได้ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในอาคารบริการหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากให้เก็บได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ลิตร
(๒) ภายนอกอาคารบริการหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากให้เก็บได้ไม่เกิน ๑,๐๐๐ ลิตร
โดยพื้นที่ที่ใช้จัดเก็บต้องไม่กีดขวางการจราจรภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๑๗ การเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดตามข้อ ๑๖ ต้องเก็บไว้ในขวดน้ำมันเชื้อเพลิง
กระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิง หรือถังน้ำมันเชื้อเพลิง ยกเว้นมีการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
ต้องเก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๖)
ส่วนที่ ๔
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ
ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
ข้อ ๑๘ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นถังชนิดที่มีผนังสองชั้น และต้องออกแบบ ก่อสร้าง และผ่านการทดสอบ
ตามมาตรฐาน UL58 Standard for Steel Underground Tanks for Flamable and Combustible Liquids
และ UL1746 Standard for External Corrosion Protection Systems for Steel Underground
Storage Tanks หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานรากในลักษณะที่ไม่อาจเคลื่อนที่ หรือลอยตัว
เนื่องจากแรงดันของน้ำใต้ดิน และฐานรากต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับน้ำหนักของตัวถัง
และน้ำมันเชื้อเพลิงที่บรรจุอยู่ในถัง รวมทั้งน้ำหนักอื่น ๆ ที่กระทำบนตัวถังได้โดยปลอดภัย
(๓) ส่วนบนของผนังถังต้องอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เซนติเมตร
และห้ามมีสิ่งก่อสร้างใด ๆ อยู่เหนือส่วนบนของผนังถัง ยกเว้นแท่นตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและหลังคา
คลุมตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
(๔) ต้องมีระยะห่างระหว่างผนังถังแต่ละถังไม่น้อยกว่า ๖๐.๐๐ เซนติเมตร
(๕) ตัวถังต้องตั้งอยู่ในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยผนังถังต้องห่างจากเขตสถานี
บริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร

(๖) เมื่อติดตั้งเสร็จต้องทำการกลบฝังด้วยวัสดุกลบฝังให้มีความหนาจากผนังถังไม่น้อยกว่า
๒๐.๐๐ เซนติเมตร โดยวัสดุกลบฝังต้องได้รับการอัดแน่น และมีการป้องกันวัสดุกลบฝังเลื่อนไหล
ไปนอกบริเวณ
วัสดุกลบฝังที่อนุญาตให้ใช้ตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ทรายสะอาด กรวดคลุก (pea gravel)
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓.๐๐ มิลลิเมตร ถึง ๑๙.๐๐ มิลลิเมตร และหินบด (crushed rock)
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓.๐๐ มิลลิเมตร ถึง ๑๓.๐๐ มิลลิเมตร หรือวัสดุกลบฝังอื่นที่มี
มาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๗) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกถัง สำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่แบ่งเป็นห้อง
(compartments) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกห้องแยกจากกัน โดยท่อระบายไอน้ำมัน
เชื้อเพลิงต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(ก) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๔๐.๐๐ มิลลิเมตร
(ข) ปลายท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร
และอยู่ห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร
(๘) ปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่ห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า
๑.๕๐ เมตร และบริเวณปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงสู่พื้นดิน ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแบบติดตั้งอยู่เหนือระดับพื้นดิน จะต้องทำบ่อ
ป้องกันการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงล้อมรอบบริเวณปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยบ่อดังกล่าว
จะต้องมีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๑๕ ลิตร
(ข) กรณีปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแบบติดตั้งอยู่ใต้ระดับพื้นดิน จะต้องทำบ่อที่มี
ฝาปิดป้องกันการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงล้อมรอบบริเวณปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยบ่อดังกล่าว
จะต้องมีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๑๕ ลิตร
(๙) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงล้นถัง (overfill protection) ที่ข้อต่อ
ท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงหรือที่ข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๑๐) ท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงและท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงแบบปลายท่อติดตั้งอยู่เหนือระดับ
พื้นดินต้องแสดงสัญลักษณ์แถบสีไว้ที่ผิวท่อด้านนอก เพื่อระบุประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยแถบสี
ต้องมีลักษณะเป็นแผ่นปิดทับบนผิวท่อหรือเป็นการทาสีทับลงบนผิวท่อกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เซนติเมตร
และมีสีตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๑
หน้า ๑๔
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
ในกรณีที่ปลายท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแบบติดตั้งอยู่ใต้ระดับพื้นดินให้แสดงสัญลักษณ์
แถบสีตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๑ ไว้ที่ฝาปิดของบ่อป้องกันการรั่วซึมตาม (๘) (ข)
ตารางที่ ๑ สัญลักษณ์แถบสี
ประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิง สีสำหรับระบบท่อ
น้ำมันเบนซินออกเทนเกิน ๙๔ เหลืองและกำกับด้วยชื่อผลิตภัณฑ์
น้ำมันเบนซินออกเทนไม่เกิน ๙๔ แต่ไม่น้อยกว่า ๙๑ แดงและกำกับด้วยชื่อผลิตภัณฑ์
น้ำมันเบนซินออกเทนน้อยกว่า ๙๑ เขียวและกำกับด้วยชื่อผลิตภัณฑ์
น้ำมันดีเซล น้ำเงินและกำกับด้วยชื่อผลิตภัณฑ์
ไอน้ำมันเบนซินออกเทนเกิน ๙๔ เหลือง
ไอน้ำมันเบนซินออกเทนไม่เกิน ๙๔ แต่ไม่น้อยกว่า ๙๑ แดง
ไอน้ำมันเบนซินออกเทนน้อยกว่า ๙๑ เขียว
ไอน้ำมันดีเซล น้ำเงิน
ข้อ ๑๙ เมื่อก่อสร้างและติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเสร็จแล้วต้องทำการทดสอบ
การรั่วซึมของตัวถังและข้อต่อต่าง ๆ โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ทำการทดสอบโดยใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อย อัดด้วยแรงดันไม่น้อยกว่า
๒๐.๖ กิโลปาสกาล (๓ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แต่ไม่เกิน ๓๔.๕ กิโลปาสกาล (๕ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ในกรณีที่ทดสอบโดยใช้แรงดันน้ำ ให้ใช้เวลาในการทดสอบไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง และในกรณีที่
ทดสอบโดยใช้แรงดันอากาศหรือก๊าซเฉื่อย ให้ใช้เวลาในการทดสอบตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๒
ตารางที่ ๒ เวลาที่ใช้ในการทดสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินโดยใช้แรงดันอากาศ
หรือก๊าซเฉื่อย
ความจุของถัง
(ลิตร)
เวลาที่ใช้ในการทดสอบ
(ชั่วโมง)
ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐
ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐
ไม่เกิน ๔๕,๐๐๐
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐
ไม่น้อยกว่า ๒๔
ไม่น้อยกว่า ๔๘
ไม่น้อยกว่า ๗๒
ไม่น้อยกว่า ๙๖
หน้า ๑๕
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๒) ในกรณีที่พบการรั่วซึม ให้ตรวจสอบหารอยรั่วซึมแล้วทำการแก้ไข และทำการทดสอบ
ตาม (๑) ซ้ำ จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม
(๓) ทำการทดสอบโดยวิธีการอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
(๔) ในกรณีที่ถังเก็บน้ำ มันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเป็นผนังสองชั้นที่มีการทดสอบจาก
โรงงานผลิตและอัดแรงดันหรือแรงดันสุญญากาศระหว่างผนังถังชั้นนอกและชั้นใน ให้ตรวจสอบ
มาตรวัดแรงดันหรือแรงดันสุญญากาศ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันเกินกว่าแรงดันที่ผู้ผลิต
กำหนด ให้ถือว่าถังปราศจากการรั่วซึม โดยไม่ต้องทำการทดสอบตาม (๑)
(๕) ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ห้ามทำการทดสอบด้วยแรงดันอากาศ
ข้อ ๒๐ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเมื่อใช้งานครบสิบปี ต้องทำการทดสอบสภาพ
ถังและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้โดยปลอดภัยในลักษณะเดียวกับที่ได้รับอนุญาต
โดยวิธีการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙
การทดสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินตามวรรคหนึ่ง ผู้ทดสอบสามารถ ทำการทดสอบ
โดยไม่ต้องเปิดพื้นลานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงก็ได้ แต่กรณีที่ตรวจสอบแล้วพบการรั่วซึมให้เปิด
พื้นลานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อทำการแก้ไขและทดสอบซ้ำ จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม
ข้อ ๒๑ ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ต้องมี
ลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรงและน้ำหนักต่าง ๆ ที่มากระทำต่อระบบ
ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยปลอดภัย
(๒) ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดัน (pressurized piping) ต้องเป็น
ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดผนังสองชั้น และเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
(๓) ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดูด (suction piping) อาจเป็นท่อน้ำมัน
เชื้อเพลิงชนิดผนังชั้นเดียวหรือผนังสองชั้นก็ได้ โดยต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
และต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นท่อน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดผนังชั้นเดียว ต้องทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่น
ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าและไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา และต้องติดตั้ง ดังต่อไปนี้
หน้า ๑๖
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
๑) ท่อต้องวางลาดเอียงให้น้ำมันไหลกลับเข้าสู่ถังโดยมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า
๑ ใน ๑๐๐
๒) ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ใต้ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและต้องไม่มีลิ้นอื่นใดติดตั้งอยู่
ระหว่างลิ้นกันกลับกับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
(ข) ในกรณีที่เป็นท่อน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดผนังสองชั้น ต้องออกแบบ ก่อสร้าง และผ่าน
การทดสอบตามมาตรฐาน UL971 Standard for Nonmetallic Underground Piping for Flamable
Liquids หรือมาตรฐาน IP Performance Specification for Underground Pipework Systems at
Petrol Filling Stations หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา
(๔) การวางท่อจะวางไว้เหนือพื้นดินหรือฝังไว้ใต้พื้นดินก็ได้ แต่ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) ท่อที่วางไว้เหนือพื้นดินต้องมีการป้องกันมิให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดมากระทำ
ให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อท่อ และต้องมีการป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อน
(ข) ท่อที่ฝังไว้ใต้พื้นดินต้องจัดให้มีเครื่องหมายถาวรไว้เหนือพื้นดินแสดงแนวท่อ
ให้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีการป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนและน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหลลงสู่พื้นดิน
กรณีที่มีการติดตั้งลิ้นปิดเปิดหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ใต้พื้นดินต้องติดตั้งให้สามารถตรวจสอบ
และบำรุงรักษาได้สะดวก
(๕) วัสดุที่ใช้ในระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ลิ้นปิดเปิด ปะเก็น หรือวัสดุป้องกัน
การรั่วซึม ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ และต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๖) ในกรณีที่มิได้ติดตั้งเครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไว้รวมกัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์
ตัดระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
ข้อ ๒๒ เมื่อติดตั้งระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก่อนการใช้งานต้องทำการ
ทดสอบ ดังต่อไปนี้
(๑) ทำการทดสอบการรั่วซึมโดยใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อยอัดด้วยแรงดัน
ไม่น้อยกว่า ๓๔๕ กิโลปาสกาล (๕๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบนาที
ในกรณีที่เป็นท่อที่มีผนังสองชั้นให้ทดสอบเฉพาะท่อชั้นในเท่านั้น
ในกรณีที่เป็นท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ห้ามทำการทดสอบด้วยแรงดันอากาศ
หน้า ๑๗
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๒) ในกรณีที่พบการรั่วซึม ให้ตรวจสอบหารอยรั่วซึมแล้วทำการแก้ไข และทำการทดสอบ
ตาม (๑) ซ้ำ จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม
(๓) ให้ทำการทดสอบระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงทุกสิบปีตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน (๑) และ (๒)
ข้อ ๒๓ การทดสอบและตรวจสอบตามข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๒ ต้องดำเนินการโดย
ผู้ทดสอบและตรวจสอบซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๗ (๔) และผู้ประกอบ
กิจการควบคุมต้องเก็บรักษาบันทึกผลการทดสอบและตรวจสอบไว้ให้กรมธุรกิจพลังงานสามารถ
เรียกตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
ในกรณีที่ยังไม่มีผู้ทดสอบและตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้ดำ เนินการทดสอบ
โดยผู้ประกอบกิจการควบคุมโดยอยู่ในการควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๒๔ เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งกับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ และต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้
(๑) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งรวมกับเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องติดตั้งอยู่ระดับพื้นดิน
โดยยึดแน่นอยู่บนแท่นคอนกรีต และแท่นคอนกรีตต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นโดยรอบไม่น้อยกว่า
๒๐.๐๐ เซนติเมตร
(๒) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งแยกจากเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิงจะติดตั้งอยู่ระดับพื้นดิน
หรือติดตั้งอยู่สูงจากพื้นดินก็ได้ ในกรณีที่ติดตั้งอยู่ระดับพื้นดินต้องยึดแน่นอยู่บนแท่นคอนกรีต
และแท่นคอนกรีตต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นโดยรอบไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เซนติเมตร
(๓) เครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งแยกจากตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีระบบการป้องกัน
มิให้มีสิ่งอื่นใดมากระทบหรือกระแทกเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้ง
ไว้ภายในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน (submersible pump) ต้องเป็นชนิดป้องกันการระเบิด
(explosion proof)
(๔) ปลายท่อสูบน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่จะต่อเข้ากับเครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิงต้องวางอยู่ในบ่อ
คอนกรีตที่มีผนังและพื้นหนาไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เซนติเมตร หรือวัสดุอื่นที่ใช้แทนกันได้และไม่ทำ
ปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิง และต้องมีการป้องกันมิให้น้ำซึมเข้าไปภายในบ่อ
(๕) สายหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ สามารถป้องกัน
ไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิต และต้องมีข้อต่อชนิดป้องกันน้ำมันไหลเมื่อสายขาด (breakaway coupling)
และสามารถทนความดันทดสอบได้ไม่น้อยกว่า ๕๑๗ กิโลปาสกาล (๗๕ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
หน้า ๑๘
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๖) หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอุปกรณ์ที่หยุดการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้
น้ำมันเชื้อเพลิงล้นถังในขณะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
(ข) ต้องเป็นชนิดป้องกันน้ำมันหกลงพื้นดิน ในกรณีที่หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลุดจาก
ช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ
(ค) เมื่อต่อเข้ากับช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะแล้วต้องไม่ลื่นหลุดออกจาก
ช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะได้ง่าย
ส่วนที่ ๕
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ข้อ ๒๕ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ระงับอัคคีภัย
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุ ไม่น้อยกว่า
๖.๘๐ กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ตามมาตรฐานระบบป้องกัน
อัคคีภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่
รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไว้ในบริเวณตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสามารถ
นำมาใช้งานได้สะดวกตลอดเวลา ตามอัตราส่วนอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) จำนวน ๒ เครื่อง ต่อตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ๑ ถึง ๔ ตู้จ่าย
(ข) จำนวน ๓ เครื่อง ต่อตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ๕ ถึง ๘ ตู้จ่าย
(ค) ถ้ามีตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน ๘ ตู้จ่าย ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงเพิ่มขึ้น ๑ เครื่อง
ต่อตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุก ๆ ๑ ถึง ๓ ตู้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
(๒) เครื่องดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และผู้ประกอบกิจการควบคุมต้อง
ตรวจสอบและบำรุงรักษาทุกหกเดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง
ข้อ ๒๖ บริเวณตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ก ต้องจัดให้
มีป้ายเตือน โดยมีข้อความ ลักษณะ และที่ตั้ง ดังต่อไปนี้
หน้า ๑๙
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๑) ป้ายต้องมีข้อความอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
“อันตราย
๑. ดับเครื่องยนต์
๒. ห้ามสูบบุหรี่
๓. ห้ามก่อประกายไฟ
๔. ปิดโทรศัพท์มือถือ”
(๒) ข้อความในป้ายต้องมองเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย โดยมีความสูงของตัวอักษร
ไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร
(๓) ต้องติดตั้งป้ายนั้นไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย
ข้อ ๒๗ ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ผู้ประกอบกิจการควบคุม
ต้องควบคุมดูแลมิให้มีการกระทำการใด ๆ ที่ทำให้เกิดเปลวไฟหรือประกายไฟ
หมวด ๓
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข
ส่วนที่ ๑
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
ข้อ ๒๘ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ต้องมีแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ
และแบบก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ และต้องแสดงรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงตามที่
กำหนดไว้ในข้อ ๑๑
ส่วนที่ ๒
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ข้อ ๒๙ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ภาย