สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข
ส่วนที่ ๑
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
ข้อ ๒๘ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ต้องมีแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ
และแบบก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ และต้องแสดงรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงตามที่
กำหนดไว้ในข้อ ๑๑
ส่วนที่ ๒
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ข้อ ๒๙ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ภายนอก ดังต่อไปนี้
(๑) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ต้องติดถนนสาธารณะที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๘.๐๐ เมตร แต่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร
หรือติดถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๘.๐๐ เมตร แต่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร
(๒) มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล
และต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมให้ทำเป็นทางเชื่อมเพื่อใช้เป็นทางเข้าและทางออก
สำหรับยานพาหนะจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตหรือเจ้าของถนนดังกล่าว โดยมีรูปแบบ
ของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะได้สามรูปแบบ ดังต่อไปนี้
(ก) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๒๔.๐๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะแยกต่างหาก
จากกัน ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร และห่างกัน
ไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร โดยวัดจากด้านในของขอบทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ขอบทางเลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่าง
ภาพประกอบที่ ๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(ข) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๑๖.๐๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะทางเดียวกัน
ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗.๐๐ เมตร ขอบทาง
เลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๘
ท้ายกฎกระทรวงนี้
(ค) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะยาวไม่น้อยกว่า ๑๗.๕๐ เมตร และมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะอยู่ตรงหัวมุม
ถนน ต้องมีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะแยกต่างหากจากกันและอยู่คนละด้านของหัวมุม
ถนน โดยทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๗.๐๐ เมตร
ขอบทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะด้านในต้องอยู่ห่างจากจุดตัดของเขตสถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่หัวมุมถนนไม่น้อยกว่า ๗.๕๐ เมตร ขอบทางเลี้ยวเข้าออกต้องโค้งออก และมีรัศมี
ความโค้งไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๙ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๓) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำ หรับยานพาหนะต้องห่างจากจุดเริ่มต้น
หรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน ๑ ต่อ ๕๐ ตามที่กำหนดไว้ใน
ข้อ ๑๒ (๘)
(๔) จุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะที่ตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะ
หรือถนนส่วนบุคคลที่ตัดกับทางรถไฟ ต้องห่างจากรางรถไฟตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๙)
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะผ่านการพิจารณา
ด้านความปลอดภัยและได้รับอนุญาตให้เชื่อมทางตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงแล้ว ให้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม (๒) (๓) และ (๔)
ข้อ ๓๐ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัยภายใน
ดังต่อไปนี้
(๑) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องติดตั้งตามระยะห่าง ดังต่อไปนี้
(ก) ห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๑) ไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๒๙ (๒) (ก)
๒) ไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๒๙ (๒) (ข)
๓) ไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร กรณีที่ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
มีลักษณะตามข้อ ๒๙ (๒) (ค)
(ข) ต้องมีระยะห่างจากผนังของอาคารบริการ และเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ด้านที่ไม่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑) (ข) (ค) และ (ง)
(๒) ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการ
และสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก โดยสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากให้มีได้เฉพาะเพื่อใช้เป็นร้านจำหน่าย
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และมีพื้นที่ของหลังคาทั้งหมดรวมกันไม่เกิน ๓๐.๐๐ ตารางเมตร และให้มี
สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการได้ ดังต่อไปนี้
(ก) หอถังน้ำ
(ข) ที่ล้างรถยนต์
(ค) ที่ยกรถยนต์
(ง) เสาป้ายเครื่องหมายการค้า
(๓) อาคารบริการต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๓)
(๔) ในกรณีที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ติดกับด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออก
สำหรับยานพาหนะอยู่ตรงมุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างของถนนตั้งแต่ ๓.๐๐ เมตร ขึ้นไป
ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๔)
(๕) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา
เขตเทศบาล และเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้นและมีบริการล้างรถยนต์
ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ต้องล้างรถยนต์โดยใช้เครื่องล้างรถยนต์หรือห้องล้างรถยนต์ที่มีการป้องกันละอองน้ำ
(ข) การจัดวางเครื่องล้างรถยนต์และห้องล้างรถยนต์สามารถดำเนินการได้สามรูปแบบ
ดังต่อไปนี้
๑) ทางเข้าเครื่องล้างรถยนต์และห้องล้างรถยนต์ตั้งฉากกับเขตทางสัญจรด้านที่ใช้
เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ แนวอาคารที่ล้างรถยนต์ด้านช่องทางออกต้องห่างจากเขต
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร แนวอาคารที่ล้างรถยนต์ด้านที่มีผนังปิดต้องห่างจาก
เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร หนึ่งด้าน และห่างจากเขตสถานี
บริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร อีกหนึ่งด้าน ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๐
ท้ายกฎกระทรวงนี้
๒) ทางเข้าเครื่องล้างรถยนต์และห้องล้างรถยนต์ขนานกับเขตทางสัญจรด้าน
ที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ แนวอาคารที่ล้างรถยนต์ด้านช่องทางเข้าและทางออก
สำหรับยานพาหนะต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร และแนวอาคาร
ที่ล้างรถยนต์ด้านที่มีผนังปิดต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร
ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้
๓) ทางเข้าเครื่องล้างรถยนต์และห้องล้างรถยนต์ทำมุมกับเขตทางสัญจรด้านที่ใช้
เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ มุมของห้องล้างรถยนต์จะต้องห่างจากเขตสถานีบริการ
น้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร สองด้าน และห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
ไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร อีกสองด้าน ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(ค) จัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์สำหรับบริการล้างรถยนต์ไม่น้อยกว่าหกคัน โดยที่
จอดรถยนต์แต่ละคันต้องมีลักษณะและขนาดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(ง) ต้องมีการป้องกันเสียงจากเครื่องล้างรถยนต์ไม่ให้เกินค่าระดับเสียงรบกวน
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด
(จ) ให้เปิดบริการล้างรถยนต์ได้ตั้งแต่ ๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๗.๐๐ นาฬิกา
(๖) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ที่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่ตาม (๕) และมีบริการ
ล้างรถยนต์ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๕)
(๗) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ที่มีบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(ก) ต้องมีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินที่มีความจุไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ลิตร สำหรับ
เก็บน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว
(ข) ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล และเขต
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายโดยเฉพาะจัดตั้งขึ้น ต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถสำหรับบริการเปลี่ยน
ถ่ายน้ำมันหล่อลื่นไม่น้อยกว่าสี่คัน โดยที่จอดรถยนต์แต่ละคันต้องมีลักษณะและขนาดตามที่กำหนด
ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๘) พื้นที่จอดรถยนต์ตาม (๕) (ค) และ (๗) (ข) ต้องอยู่ติดเขตสถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงด้านใดด้านหนึ่ง ห่างจากอาคารบริการ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน เครื่องสูบน้ำมัน
เชื้อเพลิง ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง และท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงของถัง
เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และพื้นที่จอดรถยนต์ต้องไม่กีดขวางการจราจร
ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(๙) พื้นลานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่ให้บริการล้างรถยนต์หรือเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันหล่อลื่นต้องทำด้วยคอนกรีต
(๑๐) หอถังน้ำและเสาป้ายเครื่องหมายการค้า สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก กำแพงกันไฟ
ท่อหรือรางระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำฝนออกจากอาคารบริการ ต้องมีลักษณะ
ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๗) (๘) (๙) (๑๐) และ (๑๑) ตามลำดับ
ส่วนที่ ๓
การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๓๑ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่
น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดได้ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ ลิตร
(๒) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน
๒๐,๐๐๐ ลิตร
ข้อ ๓๒ การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๓๑ ต้องเก็บไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
และให้มีตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดรวมกันได้ไม่เกินสี่ตู้
ข้อ ๓๓ การเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗
ส่วนที่ ๔
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
ข้อ ๓๔ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบตู้จ่ายน้ำมัน
เชื้อเพลิง และอุปกรณ์ ต้องมีลักษณะ วิธีการติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบตามที่กำหนดไว้
ในข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ ตามลำดับ
ส่วนที่ ๕
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ข้อ ๓๕ การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข ให้ปฏิบัติ
ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ และข้อ ๒๗