โทรศัพท์

+083-3669898,092-2479365-66 02-966-1655

อีเมล์

info@aspetroleum.co.th

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 8:00 - 17:00

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค
ส่วนที่ ๑
ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง
ข้อ ๓๖ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ต้องมีแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ
และแบบก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
หน้า ๒๕
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๑) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง
(ก) แผนผังโดยสังเขป ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑)
(ข) แผนผังบริเวณ ต้องแสดงเขตที่ดินของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อาคารบริการ
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ถังน้ำมันเชื้อเพลิง แนวท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบและตู้จ่าย
น้ำมันเชื้อเพลิง เขื่อนหรือกำแพง ท่อหรือรางระบายน้ำ บ่อกักไขมันสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากเฉพาะ
ร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะ
(ค) แบบก่อสร้างถังเก็บนํ้ามันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ ต้องแสดงรายละเอียด
อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
๑) แปลนส่วนบน รูปด้าน รูปตัด และแปลนฐานราก
๒) รายละเอียดการก่อสร้างและการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมัน
เชื้อเพลิง ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ต่าง ๆ
แบบก่อสร้างตาม ๑) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๕๐
(ง) ต้องแสดงรายการคำ นวณความมั่นคงแข็งแรงของถังเก็บน้ำ มันเชื้อเพลิง
เหนือพื้นดินขนาดใหญ่
(๒) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่สอง
(ก) แผนผังโดยสังเขป ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑)
(ข) แผนผังบริเวณ ต้องแสดงเขตที่ดินของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อาคารบริการ
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน แนวท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ
และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เขื่อนหรือกำแพง ท่อหรือรางระบายน้ำ บ่อกักไขมัน สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐาน
รากเฉพาะร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะ
(ค) แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน แบบก่อสร้างอาคารบริการ
แบบก่อสร้างท่อหรือรางระบายน้ำ และบ่อกักไขมัน แบบก่อสร้างของสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ และรายการ
คำนวณความมั่นคงแข็งแรง ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๓) (๔) (๕) และ (๗)
และข้อ ๑๑ ตามลำดับ
หน้า ๒๖
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(ง) แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ ต้องแสดงรายละเอียด
ตามที่กำหนดไว้ใน (๑) (ค)
(จ) ต้องแสดงรายการคำ นวณความมั่นคงแข็งแรงของถังเก็บน้ำ มันเชื้อเพลิง
เหนือพื้นดินขนาดใหญ่
(ฉ) แบบก่อสร้างเขื่อนหรือกำแพง ต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
๑) แปลนพื้นและแปลนฐานราก
๒) รูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาว
๓) รายละเอียดการก่อสร้าง
แบบก่อสร้างตาม ๑) และ ๒) ให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๒๐
ส่วนที่ ๒
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ข้อ ๓๗ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค เพื่อการจำหน่าย ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะ
และระยะปลอดภัยภายนอก ดังต่อไปนี้
(๑) เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ต้องติดทางสัญจรที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า ๘.๐๐ เมตร
(๒) ทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒
วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และวรรคสอง
ข้อ ๓๘ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ต้องมีลักษณะและระยะปลอดภัยภายใน
ดังต่อไปนี้
(๑) ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องติดตั้งตามระยะห่างตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑)
(๒) ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการ
และสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก โดยสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากต้องมีพื้นที่ของหลังคาทั้งหมดรวมกัน
ไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และให้มีสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์ที่จำเป็น
สำหรับการให้บริการได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๒)
(๓) อาคารบริการต้องอยู่ห่างจากเขตทางสัญจรด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับ
ยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านอื่นที่ไม่ใช้
เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร หนึ่งด้าน และด้านที่เหลือ
ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร
หน้า ๒๗
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
อาคารบริการแต่ละอาคารต้องมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร
(๔) ที่ล้างรถยนต์หรือที่ยกรถยนต์ต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๕)
(๕) การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๖)
(๖) หอถังน้ำและเสาป้ายเครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๗)
(๗) สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๘)
(๘) การระบายน้ำฝนออกจากอาคารบริการต้องมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ (๑๑)
(๙) ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีบริการล้างรถยนต์หรือเปลี่ยนถ่าย
น้ำมันหล่อลื่น พื้นลานในส่วนที่ให้บริการดังกล่าวต้องทำด้วยคอนกรีตและต้องจัดให้มีท่อ
หรือรางระบายน้ำ ในกรณีที่เป็นท่อระบายน้ำต้องมีบ่อพักน้ำทุกระยะห่างกันไม่เกิน ๑๒.๐๐ เมตร
และทุกมุมเลี้ยว เพื่อให้น้ำเสียจากการให้บริการดังกล่าวถูกบำบัดก่อนที่จะไหลลงสู่ท่อหรือราง
ระบายน้ำสาธารณะ ในกรณีที่ไม่มีท่อหรือรางระบายน้ำสาธารณะต้องสร้างบ่อซึมเพื่อรองรับน้ำทิ้ง
ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอ พร้อมทั้งต้องมีบ่อกักไขมันเพื่อขจัดไขมัน
และสิ่งสกปรกอื่น ๆ ภายในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
พื้นลานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนอื่นที่ทำด้วยคอนกรีตต้องจัดให้มีท่อหรือราง
ระบายน้ำตามวรรคหนึ่งด้วย
(๑๐) บ่อกักไขมันตาม (๙) ต้องมีความจุไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ลิตรต่อพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงทุก ๆ ๕๐๐.๐๐ ตารางเมตร เศษของ ๕๐๐.๐๐ ตารางเมตร ให้คิดเป็น ๕๐๐.๐๐ ตารางเมตร
พื้นที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง ให้คิดเฉพาะพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน
เชื้อเพลิงส่วนที่ทำด้วยคอนกรีต แต่ไม่รวมอาคารบริการ
ข้อ ๓๙ ลักษณะและระยะปลอดภัยภายในของการตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามที่
กำหนดไว้ในข้อ ๕๐ และข้อ ๕๑
ส่วนที่ ๓
การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๔๐ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่
น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดได้ตามปริมาณ ดังต่อไปนี้
หน้า ๒๘
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๑) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่หนึ่ง
(ก) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อยหรือชนิดไวไฟปานกลางไว้ในถังเก็บน้ำมัน
เชื้อเพลิงเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ลิตร
(ข) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกินสองถัง
(๒) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่สอง
(ก) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อยหรือชนิดไวไฟปานกลางไว้ในถังเก็บน้ำมัน
เชื้อเพลิงเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ ลิตร โดยถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต้องมีความจุไม่เกิน
๓๐,๐๐๐ ลิตร
(ข) เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินได้ไม่เกิน ๕,๐๐๐ ลิตร
ข้อ ๔๑ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าด
ได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗
ส่วนที่ ๔
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ถังน้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
ข้อ ๔๒ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีข้อต่อสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ติดกับถัง อย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง
(ข) ข้อต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
(ค) ข้อต่อท่อสำหรับระบายของเหลวออก
(ง) ข้อต่ออุปกรณ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
(จ) ข้อต่อท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉ) ในกรณีที่อุปกรณ์ระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงของถังมีค่าการระบายน้อยกว่าอัตรา
การระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๓ ต้องมีอุปกรณ์ระบายความดัน
กรณีฉุกเฉิน (emergency venting) เพิ่มเติม เพื่อระบายความดันในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ภายนอก
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
หน้า ๒๙
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
ลักษณะข้อต่อสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งเป็นไปดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๓
ท้ายกฎกระทรวงนี้
ตารางที่ ๓ อัตราการระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงฉุกเฉิน
พื้นที่ผิวสัมผัส
น้ำมันเชื้อเพลิง
(wetted area)
(ตารางเมตร)
อัตราการระบาย
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง
ฉุกเฉิน
(ลูกบาศก์เมตร
ต่อชั่วโมง)
พื้นที่ผิวสัมผัส
น้ำมันเชื้อเพลิง
(wetted area)
(ตารางเมตร)
อัตราการระบาย
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง
ฉุกเฉิน
(ลูกบาศก์เมตร
ต่อชั่วโมง)
พื้นที่ผิวสัมผัส
น้ำมันเชื้อเพลิง
(wetted area)
(ตารางเมตร)
อัตราการระบาย
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง
ฉุกเฉิน
(ลูกบาศก์เมตร
ต่อชั่วโมง)








๑๐
๑๒
๖๕๐
๙๕๐
๑,๓๐๐
๑,๖๐๐
๑,๙๕๐
๒,๒๕๐
๒,๕๕๐
๒,๙๐๐
๓,๒๐๐
๓,๘๕๐
๑๔
๑๖
๑๘
๒๐
๒๕
๓๐
๓๕
๔๐
๕๐
๖๐
๔,๕๐๐
๕,๑๕๐
๕,๘๐๐
๖,๒๐๐
๗,๐๐๐
๗,๘๐๐
๘,๕๐๐
๙,๒๐๐
๑๐,๕๐๐
๑๑,๕๐๐
๗๐
๘๐
๙๐
๑๐๐
๑๒๐
๑๔๐
๑๖๐
๑๘๐
๒๐๐
๒๕๐
>๓๐๐
๑๒,๖๐๐
๑๓,๖๐๐
๑๔,๕๐๐
๑๕,๒๐๐
๑๖,๒๐๐
๑๗,๐๐๐
๑๗,๘๐๐
๑๘,๕๐๐
๑๙,๒๐๐
๒๐,๗๐๐
๒๔,๒๐๐
หมายเหตุ :- ค่าพื้นที่ผิวสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิง (wetted area) ของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงให้คำนวณ ดังต่อไปนี้
(๑) ถังตามแนวนอน (horizontal tank)
๑.๑ ถังรูปทรงกระบอก (cylindrical tank) คิดจากร้อยละเจ็ดสิบห้าของพื้นที่ผิวถังทั้งหมด
๑.๒ ถังทรงสี่เหลี่ยมคิดจากผลรวมของพื้นที่ผิวด้านล่างและด้านข้าง
(๒) ถังตามแนวตั้ง (vertical tank) คิดจากพื้นที่ผิวถังเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินในกรณีที่ถังมีความสูง
มากกว่า ๙.๐๐ เมตร (๓๐.๐๐ ฟุต) ให้คิดพื้นที่ผิวถังเท่ากับถังที่มีความสูง ๙.๐๐ เมตร (๓๐.๐๐ ฟุต)
(๓) ในกรณีที่พื้นที่ผิวสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิงที่คำนวณได้ตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นไปตามค่าที่กำหนดไว้ใน
ตารางการคำนวณอัตราการระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงฉุกเฉินให้ใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
หน้า ๓๐
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๒) ในกรณีที่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินมีความจุมากกว่า ๑๙,๐๐๐ ลิตร ต้องมีช่อง
สำหรับคนลง (man hole) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๖๐.๐๐ เซนติเมตร
(๓) ต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่าสองเท่าของความเค้น
ที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากความดันใช้งานสูงสุดของน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง หรือทำจากวัสดุ
อื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๔) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานราก โดยฐานรากต้องออกแบบและก่อสร้าง
ให้สามารถรับน้ำหนักของตัวถัง และน้ำมันเชื้อเพลิงที่บรรจุอยู่ในถังได้
(๕) ผิวภายนอกของถังต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน โดยการทาสีรองพื้นกันสนิมไม่น้อยกว่า
สองครั้ง แล้วทาทับด้วยสีเคลือบไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง หรือใช้วิธีการอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่
รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) ผนังถังต้องห่างจากอาคารบริการ สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ไม่น้อยกว่า ๗.๕๐ เมตร
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการใช้เอง
(๗) ผนังถังต้องห่างจากเขตทางสัญจรด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ
ไม่น้อยกว่า ๗.๕๐ เมตร และต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านอื่นที่ไม่ใช่ทางเข้า
และทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า ๑๕.๐๐ เมตร หากมีระยะน้อยกว่า ๑๕.๐๐ เมตร
ต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร ที่เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านนั้น
และตัวถังต้องห่างจากกำแพงกันไฟไม่น้อยกว่า ๗.๕๐ เมตร
(๘) ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินแต่ละถังต้องห่างกันไม่น้อยกว่า ๑.๐๐ เมตร
โดยวัดจากผนังถัง
(๙) ห้ามตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินไว้ในอาคารบริการหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐาน
ราก ยกเว้นส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารบริการที่ยื่นออกมาเพื่อใช้เป็นหลังคาคลุมตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
(๑๐) โดยรอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินต้องทำเขื่อนหรือกำแพงล้อมไว้ มีขนาด
ให้พอที่จะเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้เท่ากับถังใบใหญ่ที่สุด
(๑๑) ผนังของเขื่อนหรือกำแพงต้องสามารถป้องกันของเหลวไหลผ่านได้ และสามารถ
ทนแรงดันของน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่บรรจุเต็มเขื่อนหรือกำแพง
หน้า ๓๑
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๑๒) ผนังของเขื่อนหรือกำแพงต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า
๓.๐๐ เมตร
(๑๓) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกถัง สำหรับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่แบ่งเป็นห้อง
(compartments) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ทุกห้องแยกจากกัน โดยท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(ก) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๔๐.๐๐ มิลลิเมตร
(ข) ปลายท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร
(๑๔) ความใน (๖) (๗) (๘) และ (๑๒) ไม่ใช้บังคับแก่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการ
ใช้เองที่ติดตั้งเป็นการชั่วคราวในสถานที่ที่มีการก่อสร้าง
ข้อ ๔๓ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีลักษณะ
และวิธีการติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ และข้อ ๒๑
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่ง จะเป็นชนิด
ที่มีผนังหนึ่งชั้นหรือผนังสองชั้นก็ได้
ข้อ ๔๔ ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน
ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรงและน้ำหนักต่าง ๆ ที่มากระทำต่อระบบ
ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยปลอดภัย
(๒) ต้องใช้ท่อที่ทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าและไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน
เชื้อเพลิงตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) การวางท่อจะวางไว้เหนือพื้นดินหรือฝังไว้ใต้พื้นดินก็ได้ แต่ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) ท่อที่วางไว้เหนือพื้นดินต้องมีการป้องกันมิให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดมากระทำ
ให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อท่อ และต้องมีการป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อน
(ข) ท่อที่ฝังไว้ใต้พื้นดินต้องจัดให้มีเครื่องหมายถาวรไว้เหนือพื้นดินแสดงแนวท่อ
ให้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีการป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนและน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหลลงสู่พื้นดิน
กรณีที่มีการติดตั้งลิ้นปิดเปิดหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ใต้พื้นดินต้องติดตั้งให้สามารถตรวจสอบ
และบำรุงรักษาได้สะดวก
หน้า ๓๒
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓
(๔) การต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลิ้นปิดเปิด ซึ่งอยู่ใกล้กับ
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
(๕) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง
(anti-siphon valve) ที่ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ใกล้กับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อป้องกันน้ำมัน
เชื้อเพลิงไหลออกจากถังในกรณีที่ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแตกเสียหาย ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๓
ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๖) ในกรณีที่ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้ต่อเข้ากับส่วนบนสุดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
ต้องติดตั้งลิ้นควบคุมการปิดโดยอัตโนมัติเมื่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงถูกไฟไหม้ (fire emergency valve)
ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ ๑๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๗) วัสดุที่ใช้ในระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ลิ้นปิดเปิด ปะเก็น หรือวัสดุป้องกัน
การรั่วซึม ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ และต้องไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิง
(๘) ในกรณีที่มิได้ติดตั้งเครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไว้รวมกัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์
ตัดระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
ข้อ ๔๕ ถังน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับถังน้ำมัน
เชื้อเพลิง ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๔
ข้อ ๔๖ เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งกับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลักษณะ
และวิธีการติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๔
ข้อ ๔๗ การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
เหนือพื้นดิน และระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๒
และข้อ ๒๓ ตามลำดับ
ส่วนที่ ๕
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ข้อ ๔๘ การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ให้ปฏิบัติ
ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ และข้อ ๒๗
ในกรณีที่มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๕
หน้า ๓๓
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓

บทความแนะนำ

Call Now Button